บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความเกี่ยวกับ โตโยต้า วีออส


บทความเกี่ยวกับ โตโยต้า วีออส
   โตโยต้า วีออส (อังกฤษ: Toyota Vios) เป็นรถรุ่นตระกูลที่โตโยต้า ออกแบบมาเพื่อมาแทนที่รถรุ่นโซลูน่า (Soluna) เริ่มผลิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2546 โดยจัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) โดยทั่วไปจะนิยมนำรถวีออสไปใช้งานเป็นรถยนต์ส่วนตัว แต่มีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ในบางประเทศ เช่นในอินโดนีเซีย จะมีรถวีออสสำหรับทำเป็นแท็กซี่จำหน่ายในชื่อ “โตโยต้า ลิโม” (ต่างจากในประเทศไทย ที่รถโตโยต้า ลิโม คือรุ่นโคโรลล่าที่มีการตัด Option ต่างๆ ออก เพื่อให้รถมีราคาถูก เหมาะกับการซื้อไปเป็นแท็กซี่เช่า) และมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่งวีออส เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับรถยนต์หลายรุ่น ที่สำคัญๆ คือ ฮอนด้า ซิตี้, เชฟโรเลต อาวีโอ ด้วยความที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถส่วนบุคคลขนาดเล็กราคาถูกเหมือนกัน
    โตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ ผลิตในประเทศไทยที่ โรงงานโตโยต้าเกตเวย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงงานในประเทศฟิลิปปินส์ และในประเทศจีน โดยส่งออกไปขายยัง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยรถวีออสโฉมที่ 1 ในประเทศเหล่านี้จะใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE ความจุ 1.5 ลิตร สำหรับรถวีออสโฉมนี้ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้เครื่องยนต์ 2NZ-FE ความจุ 1.3 ลิตร
       ส่วนรถวีออสโฉมนี้ในประเทศจีนจะใช้เครื่องยนต์แบบ 8A-FEมีตัวถังแบบเดียว คือ แบบซีดาน 4 ประตู โดยในระยะแรกในประเทศไทยจะจำหน่ายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า วีออส (Toyota Soluna Vios) เพื่อแสดงว่าเป็นโฉมใหม่ของโตโยต้า โซลูน่า ต่อมาจึงได้ยกเลิกชื่อโซลูน่า เพื่อทำการตลาดในชื่อรุ่นชื่อใหม่ คือ “วีออส]วีออส เทอร์โบโตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ เคยมีการผลิตและจำหน่ายรุ่นพิเศษ คือโตโยต้า วีออส เทอร์โบ (อังกฤษ: Toyota Vios Turbo) โดยมีการจัดทำรถรุ่นนี้ขึ้นในจำนวน 600 คัน และจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย โดยรุ่นพิเศษนี้ ยังคงเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรแบบเดิม แต่มีการติดตั้งเทอร์โบ และระบบอินเตอร์คูลเลอร์โดยสำนักแต่งรถ TRD หรือ Toyota Racing Development ซึ่งเป็นสำนักแต่งรถที่ขึ้นกับโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 143 แรงม้า นอกจากนี้ยังได้เพิ่มอุปกรณ์ตกแต่งตัวรถ ทำให้ดูแตกต่างไปจากรุ่นปกติ
Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน)
โตโยต้า วีออส โฉมที่ 2โฉมที่สองของวีออสเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2549 โดยใช้ชื่อว่า “โตโยต้า เบลต้า” และเปิดตัวในตลาดอเมริกาเหนือ/ ตะวันออกกลาง / อเมริกาใต้ / ลาตินอเมริกา / ออสเตรเลีย ช่วงต้นปี 2550 โดยใช้ชื่อ “โตโยต้า ยาริส ซีดาน” ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อว่า “โตโยต้า วีออส” เปิดตัวในประเทศไทยครั้งแรกวันที่ 8 และ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่สยามพารากอนนอกเหนือจากการใช้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ยังมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน โตโยต้า วีออส วันเมคเรซ ซึ่งเป็นการแข่งรถในประเทศไทยที่ทางโตโยต้าจัดขึ้นการแข่งรถมี 2 รุ่นได้แก่Toyota Vios One Make Race Class CToyota Vios One Make Race Lady Cupนักแข่งดาราในนามของ Toyota Team Star.
     (2010)รุ่น Vios One Make Race Class C อธิกิตติ์ พริ้งพร้อมรุ่น Vios One Make Race Lady Cup สุคนธวา เกิดนิมิตรรุ่น Vios One Make Race Lady Cup อชิตะ ธนาศาสตนันท์
ในปี 2550 – 2551 ในเมืองไทยมีการแบ่งการผลิตวีออสออกเป็น 3 รุ่นมาตรฐาน ได้แก่
รุ่น J เป็นรุ่นล่างสุด มาพร้อมระบบเบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA / กระทะล้อขนาด 15 นิ้ว พร้อมฝาครอบ ไฟตัดหมอกหลัง (ระบบป้องกันการโจรกรรม TVSS พร้อมรีโมทเป็นอุปกรณ์เสริม) กระเป๋าเก็บเอกสารหลังผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้ารุ่น E เป็นเกรดกลาง เพิ่มอุปกรณ์จากรุ่น J มากขึ้นคือ ระบบป้องกันการโจรกรรม TDS พร้อมรีโมทที่ด้ามกุญแจ ล้อแม็กซ์อัลลอยขนาด 15 นิ้ว ไฟตัดหมอกหลัง และภายในห้องโดยสารสามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีเทาดำ (Dark Grey) และไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้างรุ่น E Safety เป็นเกรดรองสูงสุด เพิ่มถุงลมนิรภัยคู่หน้า และและเข็มขัดนิรภัยแบบดึงรั้งกลับอัตโนมัติ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เหมือนรุ่น Eรุ่น G เป็นเกรดสูงสุด เพิ่มอุปกรณ์ภายใน เช่น เครื่องเสียงแบบ 6 ลำโพง หน้าปัดแบบออปติตรอนพร้อมจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีฟ้า
        ติดตั้งไฟตัดหมอกหน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ภายในห้องโดยสารสามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีดำ (Dark Grey)และเพิ่ม 3 รุ่นพิเศษ ได้แก่รุ่น S-Limited เพิ่มอุปกรณ์ชุดแต่งจากโรงงานรอบคัน หน้าปัดแบบออปติตรอนพร้อมจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีส้ม ไฟหน้าแบบ Bi-Xenon ปรับระดับสูง – ต่ำ อัตโนมัติตามน้ำหนักรถ เปลื่ยนระบบเบรกหลังจากดรัมเป็นดิสก์เบรก และวัสดุภายในแบบสปอร์ตสีเทาควันบุหรี่ พร้อมปรับแต่งโช้คอัพ และสปริงให้มีความแข็งมากกว่ารุ่นอื่นรุ่น G-Limited เพิ่มอุปกรณ์จากรุ่น G เช่น Smart Entry และระบบป้องกันการโจรกรรมกุญแจเลียนแบบหรือ Immobilizer
        พร้อมปุ่มสตาร์ทเครื่องแบบสัมผัส หรือ Push Startรุ่น GT Street โดยการนำรุ่น J มาตกแต่งในรูปแบบพิเศษ สเกิร์ตรอบคันทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง สปอยเลอร์และสติกเกอร์ GT Street ที่ฝากระโปรงหลัง ท่อไอเสียพร้อมฝาครอบ สแตนเลส และสติกเกอร์ด้านข้างดีไซน์สปอร์ต ส่วนภายในใช้โทนสีแดงดำ ทั้งผ้าเบาะ สีแดงกับสีดำ รวมถึงพวงมาลัยหุ้มหนัง หัวเกียร์หุ้มหนังเดินด้ายสีแดง และคอนโซลหน้าสุดสปอร์ตสีดำ-แดง โดยจะทำการผลิตเพียง 1,000 คัน
ที่มา http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น