บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โช๊คอัพที่ดีที่สุด


โช๊คอัพที่ดีที่สุด
(SHOCK ABSORBERS) มีหน้าที่โดยพื้นฐานคือ เป็นตัวควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง (COIL SPRING) แหนบ (LEAF SPRING) และสปริงแบบแท่ง (TORTION BAR) ถ้าไม่มีโช้คอัพรถจะเต้นไม่หยุด โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดแรงกระแทก ที่เกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ ซึ่งโดยมีหน้าที่พื้นฐานคือ เป็นอุปกรณ์ที่คอยควบคุม การทำงานของสปริงหรือแหนบ โดยเมื่อรถยนต์ได้รับแรงกระแทก เนื่องจากสภาพถนน โช้คอัพจะเป็นตัวหน่วง การเคลื่อนที่ขึ้นและลงของตัวรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ได้รับแรงสะเทือนน้อยที่สุด และควบคุมล้อรถ ให้สัมผัสกับพื้นผิวของถนนขณะรถวิ่ง โช้คอัพของรถยนต์โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุก สปริง หรือ แหนบ จะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกโช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) คือ อุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบรองรับของรถยนต์
เพื่อลดการกระแทก อันเกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ หน้าที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกันระหว่างโช้คอัพ กับ สปริง สปริง เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เมื่อมีแรงกดลงมา สปริงจะทำการยุบตัวลง และค่อยคืนสภาพเดิม กล่าวคือ เป็นอุปกรณ์รองรับน้ำหนัก และความยืดหยุ่นของรถยนต์ โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบช่วงล่าง คือ เป็นตัวรองรับแรงกระแทก และควบคุมการยึดเกาะถนนของตัวรถยนต์ โช้คอัพ และสปริงต้องทำงานร่วมกัน โดยเมื่อมีแรงกดมายังช่วงล่างสปริงจะทำการยุบตัว และค่อย ๆ ดีดตัวขึ้น ตรงส่วนนี้เอง โช้คอัพจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดแรงดีดตัวของสปริง ทำให้แรงดีดตัวของสปริงมีความหนืดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกนุ่มขึ้นของช่วงล่าง ถ้าโช้คอัพสามารถลดแรงดีดตัวของสปริงได้มากเท่าใด ก็แสดงถึง ประสิทธิภาพของโช้คอัพได้มากเท่านั้น
หน้าที่โดยพื้นฐานของ โช้คอัพ
ซึ่งเมื่อขณะที่รถยนต์ได้รับแรงกระแทกจากการวิ่งบนถนนที่ไม่ เรียบ โช้คอัพจะมีหน้าที่เป็นตัวช่วยหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของตัวรถยนต์ และยังช่วยควบคุมการเต้นของล้อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ล้อของรถยนต์ ได้สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ในขณะที่รถแล่นอยู่ตลอดเวลา ให้เกิดความสบายของผู้ขับขี่และให้เกิดการทรงตัวที่ดีที่สุด
ชนิด และวิธีการเลือกซื้อโช้คอัพ
(SHOCK ABSORBERS) ที่ใช้ในรถยนต์อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นโช้คอัพที่ทำงาน โดยอาศัยการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (HYDRAULIC OIL) หรือที่เรียกว่า น้ำมันโช้คอัพ โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบอัดให้น้ำมันไฮดรอลิค ที่อยู่ภายในกระบอกไหล ผ่านรูเล็ก ๆ (ORIFICE) ที่อยู่ภายในลูกสูบ โดยที่รูเล็กๆเหล่านี้ จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ในขณะที่รถวิ่งไปบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะมีการยืดตัวและหดตัว ตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็กๆภายในลูกสูบ จึงมีหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยว การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของสปริงและแหนบของรถยนต์
หลักการทำงาน ทั่วไปของโช้คอัพ
โช้คอัพที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นโช้คอัพที่อาศัยหลักการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (น้ำมันโช้คอัพ) โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบ อัดให้น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่านรูเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกสูบ โดยรูเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อรถได้รับแรงกระเทือนบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะยืด และหดตัวตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็ก ๆ ภายในลูกสูบจึงมีหน้าที่หน่วงเหนียว การดีดตัวอย่างรวดเร็วของสปริง หรือแหนบของรถยนต์โช้คอัพแบ่งออกตามสื่อการทำงานได้เป็น 2 ชนิดคือโช้คอัพรถยนต์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้แบ่งตามรูปแบบการทำงานได้ 2 ชนิด คือ โช้คอัพน้ำมัน โช้คอัพชนิดนี้จะทำงานโดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวทำงานเพียงอย่างเดียว ดังนั้นโช้คอัพชนิดนี้ในขณะทำงานจะเกิดฟองอากาศ จึงทำให้ขาดช่วงการทำงานโช้คอัพแบบแก็ส โช้คอัพชนิดนี้เป็นโช้คอัพน้ำมันไฮดรอลิค แล้วบรรจุแก๊สไนโตรเจนเข้าไปภายในกระบอกโช้คอัพ เพื่อกำจัดฟองอากาศของน้ำมัน ที่เกิดขึ้นภายในโช้คอัพ จึงทำให้โช้คอัพชนิดนี้ทำงานได้อย่างราบเรียบ สม่ำเสมอ
วิธีการตรวจสอบ โช้คอัพ
วิธีการตรวจสอบสภาพของโช้คอัพนั้น ผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบได้ดังนี้
ให้สังเกตุที่หน้ายางของรถยนต์ ถ้าโช้คอัพเสียหน้ายางจะสึกเป็นช่วง ๆ โดยรอบ ให้ใช้มือกดบริเวณด้านบนของบังโคลนทั้งหน้าและหลังหลาย ๆ ครั้ง แล้วปล่อยมือบริเวณที่กด ก็จะมีอาการยืดและหด ถ้ามีอาการเด้งหลาย ๆ ครั้ง แสดงว่าโช้คอัพนั้นชำรุด ในขณะที่ขับรถผ่านทางที่ขรุขระหรือทางที่เป็นทางลูกระนาด รถจะมีอาการโยนตัว สาเหตุมาจากสปริง หรือแหนบจะยืดและหดตัวอย่างเต็มที่ จนยางกันกระแทก จะกระแทกกับปีกนกตัวบนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าขณะนี้โช้คอัพไม่มีแรงที่ จะหน่วงการเคลื่อนที่ของสปริงหรือแหนบเพียงพอแล้ว ให้สังเกตุเวลาขับขี่รถจะมีความรู้สึกว่าควบคุมรถได้ยากมาก นั่นหมายความว่า โช้คอัพไม่สามารถควบคุมการดีดตัวของสปริง หรือแหนบได้ ล้อจะเต้นจนหน้าสัมผัสของยางลอย จากพื้นผิวของถนน อาการเช่นนี้จะเป็นอันตรายอย่างมาก ในขณะขับรถเข้าทางโค้งด้วยความเร็วสูง จะทำให้รถเสียการทรงตัวได้ ให้สังเกตุว่าโช้คอัพมีคราบน้ำมันไหลออกมาหรือไม่ ถ้าหากไม่แน่ใจให้ใช้ผ้าเช็ดแล้วลองตรวจสอบดูอีกครั้ง เพราะคราบน้ำมันนี้อาจจะมาจากสารหล่อลื่น แกนของโช้คอัพก็เป็นไปได้ ถ้าเช็ดแล้วมีคราบน้ำมันอีกก็แสดงว่าโช้คอัพชำรุดให้ถอดโช้คอัพออกมาแล้วดึง ทดสอบความหนืด โดยถอดจุดยึดด้านล่างของโช้คอัพออกแล้วออกแรงดึง การตรวจสอบโช้คอัพลักษณะนี้ ควรตั้งตัวโช้คอัพให้ตั้งฉากกับพื้น แล้วคอยสังเกตุความหนืดของโช้คอัพ
วิธีง่าย ๆ ในการสังเกตุอาการชำรุดของโช้คอัพ
รถเริ่มโคลง หรือ กระดอนผิดปกติ ขณะขับขี่สูญเสียการควบคุมขณะเข้าโค้ง หรือ เบรกดอกยางรถมีลักษณะเป็นบั้ง ไม่เรียบเสมอกัน มีคราบน้ำมันซึมออกข้างกระบอกโช้คอัพ
อายุการใช้งาน
แม้มีมาตรฐานของอายุการใช้งานโดยประมาณแต่ในการใช้งาน จริงจะยืดหยุ่นมากน้อยตามคุณภาพของโช้กอัพ ลักษณะการขับและสภาพถนน เช่น ถ้าถนนแย่ ขรุขระมาก ก็หมดสภาพเร็วหน่อย
โดยเฉลี่ยอายุการใช้งานของ โช้กอัพอยู่ที่ 50,000-100,000 กิโลเมตร ประสิทธิภาพของโช้กอัพจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งานที่ผ่านไป ส่วนจะลดลงเร็วหรือน้อยก็แตกต่างกันออกไป แต่ลดลงเรื่อย ๆ แน่นอน และผู้ขับก็ไม่ค่อยทราบเพราะความเคยชิน การเสื่อมสภาพของโช้กอัพ ไม่จำเป็นต้องแตกหรือรั่วเท่านั้นยังต้องตรวจสอบด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น จอดรถยนต์นิ่ง ใช้น้ำหนักร่างกายกดขย่มลงบนเหนือตัวถังใกล้กับล้อของโช้กอัพตัวที่ต้องการ ตรวจสอบ (ระวังตัวถังบุบไว้ด้วย) เมื่อขย่มลงไปสัก 5 ครั้ง แล้วปล่อย ถ้าโช้กอัพยังดี ตัวรถยนต์ต้องขยับขึ้นลงอีก 1-3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพยังควบคุมความยืดหยุ่นไว้ได้ แต่ถ้าตัวรถยนต์ยังขยับขึ้นลงมากกว่า 3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพหมดความหนืด ไม่สามารถควบคุมความยืดหยุ่นไว้ได้ หากกดแทบไม่ลง หรือเมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วตัวรถยนต์หยุดนิ่งในเกือบจะทันที หรือทันที แสดงว่าโช้กอัพตาย ไม่สามารถยืดยุบตัวได้ตามปกติ การทดสอบขณะรถยนต์จอดนิ่ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดสอบเท่านั้น ต้องประกอบกับการขับเคลื่อนจริงด้วย โดยให้พยายามจับอาการในการขับด้วยว่า มีอาการกระด้างมากขึ้น หรือยวบยวบมากขึ้นไหม แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะอาจมีการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอื่น เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การเสื่อมสภาพของโช้กอัพมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงเกิดความคุ้นเคย จนจับอาการผิดปกติได้ยาก ถ้าไม่แน่ใจว่าโช้กอัพหมดอายุหรือยัง เมื่อใช้งานเกิน 80,000-100,000 กิโลเมตร (โดยทั่วไป 50,000 กิโลเมตร ก็เสื่อมสภาพลงมากแล้ว) หรือ 5 ปี ให้ตัดสินใจเปลี่ยนโช้กอัพไปเลย
เลือก เปลี่ยนอย่างไร
เมื่อโช้กอัพหมดอายุ ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า พึงพอใจกับประสิทธิภาพของโช้กอัพ ชุดเดิมไหม นิ่มหรือแข็งไปไหม ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักเลือกใช้โช้กอัพที่ไม่แข็งมากเป็นมาตรฐาน เพราะต้องการให้การใช้งานส่วนใหญ่ในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง มีความนุ่มนวลสร้างความประทับใจได้ดี ส่วนใหญ่ในช่วงความเร็วสูง ที่ถูกใช้ไม่บ่อย และมีผู้ใช้เท้าหนักไม่มากนัก ถือเป็นเรื่องรองลงไป มักไม่ค่อยมีกรณีที่ผู้ใช้ ไม่พึงพอใจ โช้กอัพชุดเดิมว่าแข็งเกินไป เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักเลือกใช้โช้กอัพโดยเน้น ความนุ่มนวลเป็นหลัก มักจะต้องการโช้กอัพที่แข็งขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง
อยากเปลี่ยน โช้กอัพเทียบเท่ามาตรฐานเดิม
มีหลายทางเลือก
1. โช้กอัพใหม่ตามมาตรฐานจากศูนย์บริการแท้ ๆ มีจุดเด่น คือ ได้โช้กอัพแท้ ๆ ตามมาตรฐานเดิม แบบไม่ต้องลุ้น แต่แพงหน่อยและไม่สามารถเลือกโช้กอัพที่มีความแข็ง ต่างจากเดิม
2. โช้กอัพใหม่ หาซื้อตามร้านอะไหล่ โดยเทียบใช้ในประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือเท่าเดิม ในยี่ห้อที่แตกต่างและราคาถูกกว่า ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักไม่ผลิตโช้กอัพเอง เพราะยุ่งยากสิ้นเปลืองในการลงทุน โดยจะสั่งจากผู้ผลิตรายย่อย (ซัปพลายเออร์) ให้ผลิตตามกำหนดหรือมาตราฐาน แล้วนำมาใช้ในการประกอบรถยนต์หรือจำหน่าย ในศูนย์บริการ โดยผู้ผลิตรายย่อยหลายรายก็มักจะผลิตโช้กอัพในมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียง กัน กับที่ส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกจำหน่ายเองด้วยจึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะเลือก ซื้อนอกศูนย์ บริการได้เริ่มจากการหายี่ห้อของโช้กอัพ ซึ่งมักจะถูกปั๊มไว้บนตัวโช้กอัพเดิม อาจใช้วิธีบอกรุ่นของรถยนต์ หรือยกโช้กอัพเดิมไปเทียบ จะมีราคาถูกกว่าในคุณภาพ ใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีให้เลือกตรงรุ่นเดิมเป๊ะเสมอไป และขาดความสะดวกกว่า การเข้าศูนย์บริการ
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตรายย่อย ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ได้ผลิตส่งโรงงาน ประกอบรถยนต์ แต่ผลิตโช้กอัพในคุณภาพหลากหลายออกมาให้เลือกใช้กัน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ต้องการความแข็ง-อ่อนของโช้กอัพต่างจากมาตรฐานเดิม
3. โช้กอัพเก่า สภาพดีจากเชียงกงทางเลือกนี้มีโอกาสมากเฉพาะรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะใน ไทยมีเชียงกงตลาดอะไหล่ของรถยนต์ญี่ปุ่นเป็นหลัก ราคาไม่แพง แม้อายุการใช้งาน มิได้เหลือเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่เกิน 50-70 เปอร์เซ็นต์ เพราะสภาพถนน ในญี่ปุ่นราบเรียบกว่าไทยมาก การเลือกเน้นได้แค่ดูแกนโช้กอัพต้องเงา ไม่เป็นรอยขูดขีด น้ำมันต้องไม่เยิ้มออกมา ( ระวังโช้กอัพที่ถูกล้างมาก่อน) และยางเบ้าโช้กอัพด้านบน ต้องไม่ขาดหรือไม่โทรมมาก
อีกจุดที่โช้กอัพ เชียงกงสร้างความคุ้มค่าได้มาก สำหรับช่วงล่างแบบ แม็คเฟอร์สันสตรัท ที่นิยมใช้กัน (โช้กอัพถูกร้อยด้วยสปริงรวมเป็นชุดเดียวกัน) คือ มีสปริงและยางเบ้าโช้กอัพ ด้านบนมาพร้อมกับโช้กอัพสปริงเมดอินเจแปนมักมีประสิทธิภาพสูงกว่า และยางเบ้า โช้กอัพของใหม่ ก็มีราคาหลายร้อยจนถึงพันกว่าบาท ถ้าซื้อโช้กอัพใหม่เอี่ยม ก็ต้องใช้สปริงเดิมและถ้ายางเบ้าโช้กอัพด้านบนเสียก็ต้องเสียเงินกันอีก
อยาก เปลี่ยนโช้กอัพแข็งขึ้น
ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนโช้กอัพให้อ่อนลงจากมาตรฐาน เดิม เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ มักเลือกใช้ ช้กอัพที่ไม่แข็งนัก เพื่อสร้างความนุ่มนวลให้เกิดความประทับใจหากแน่ใจแล้วว่าต้องการเปลี่ยน โช้กอัพแข็งขึ้นก็ต้องมองข้ามโช้กอัพแบบมาตรฐานเดิมจากศูนย์บริการไป แล้วอย่าลืมว่า ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างเป็นธรรมดา จะให้นุ่มนวลมาก ๆ แล้วทรงตัวในช่วงความเร็วสูงดี ๆ คงหาได้ยาก
ในการเลือกต้องรอบคอบว่า อยากได้โช้กอัพที่แข็งมากขึ้นเท่าไร อยากให้ทรงตัวดีในช่วง ความเร็วสูงมาก ๆ โช้กอัพก็ต้องยอมรับความกระด้างไว้ด้วย หากเลือกโช้กอัพแล้ว แข็งหรืออ่อนไปจากความต้องการจริง คงไม่คุ้มค่า จึงต้องสอบถาม พร้อมหาข้อมูล และเลือกอย่างรอบคอบว่าโช้กอัพที่จะเลือกนั้นแข็งขึ้นแค่ไหนตรงความต้องการ ไหม ความเสี่ยงที่เลือกซื้อโช้กอัพมาแล้ว มีความแข็งอ่อนไม่ตรงตามต้องการมีไม่น้อย การลดความเสี่ยงทำได้โดยเลือกโช้กอัพที่สามารถปรับระดับความแข็งอ่อนได้ ส่วนจะปรับได้ด้วยวิธีไหนและแค่ไหน ก็ยังดีกว่าปรับไม่ได้เลย
ทางเลือก โช้กอัพแข็งขึ้น
ใหม่ และเก่ารถยนต์ญี่ปุ่น มี 2 ทางเลือก แต่รถยนต์ยุโรปมักต้องเลือกโช้กอัพใหม่ เพราะในไทย มีเชียงกง-ตลาดอะไหล่เก่าของรถยนต์ญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยผู้ใช้รถยนต์ญี่ปุ่น สามารถเลือกโช้กอัพเก่าสภาพดี ๆ แบบแข็งขึ้นได้ จากรถยนต์ตัวถัง ที่มีรุ่นสมรรถนะ สูงกว่าจำหน่ายในญี่ปุ่น เช่น มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในไทยมีแค่รุ่น 1.8 สูงสุด แต่ในญี่ปุ่น มีถึงรุ่น 1.8 เทอร์โบ และ 2.0 เทอร์โบ เมื่อเครื่องยนต์มีพลังแรงกว่า ก็ย่อมต้องใช้โช้กอัพและสปริง ที่แข็งขึ้นหรือแลนเซอร์รุ่น 2-3 ประตูสปอร์ตก็ย่อมต้องใช้โช้กอัพและสปริงที่แข็งขึ้น กว่ารุ่นซีดานพื้น ๆ เป็นธรรมดา
หากเข้าเชียงกง ควรยกโช้กอัพพร้อมสปริงชุดเดิมไปเทียบขนาด โดยต้องแน่ใจว่า โช้กอัพชุดที่จะซื้อแข็งกว่า ด้วยการระบุรุ่นจากการเขียนของคนที่ถอดมา หรือดูจาก ขนาดของข้อสปริงที่ใหญ่กว่าพร้อมตัวโช้กอัพหรือแกนที่อ้วนกว่าโดยทั่วไปแล้ว โช้กอัพเหล่านั้นจะไม่แข็งขึ้นมาก เพราะก็ยังเป็นของรถยนต์ในสายการผลิตที่เน้น ความนุ่มนวลอยู่ แต่ถ้าเลือกพลาดก็ไม่น่าจะอ่อนกว่าเดิม การเลือกโช้กอัพที่แข็งขึ้นจาก เชียงกง มีข้อจำกัดคือ ไม่ได้มีให้เลือกสำหรับรถยนต์ทุกรุ่นและมักจะแข็งขึ้นกว่าเดิมไม่มาก ถ้าต้องการโช้กอัพที่แข็งขึ้นมาก ๆ ควรหันไปซื้อของใหม่
(SHOCK ABSORBERS) มีหน้าที่โดยพื้นฐานคือ เป็นตัวควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง (COIL SPRING) แหนบ (LEAF SPRING) และสปริงแบบแท่ง (TORTION BAR) ถ้าไม่มีโช้คอัพรถจะเต้นไม่หยุด โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดแรงกระแทก ที่เกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ ซึ่งโดยมีหน้าที่พื้นฐานคือ เป็นอุปกรณ์ที่คอยควบคุม การทำงานของสปริงหรือแหนบ โดยเมื่อรถยนต์ได้รับแรงกระแทก เนื่องจากสภาพถนน โช้คอัพจะเป็นตัวหน่วง การเคลื่อนที่ขึ้นและลงของตัวรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ได้รับแรงสะเทือนน้อยที่สุด และควบคุมล้อรถ ให้สัมผัสกับพื้นผิวของถนนขณะรถวิ่ง โช้คอัพของรถยนต์โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุก สปริง หรือ แหนบ จะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกโช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) คือ อุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบรองรับของรถยนต์
เพื่อลดการกระแทก อันเกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ หน้าที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกันระหว่างโช้คอัพ กับ สปริง สปริง เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เมื่อมีแรงกดลงมา สปริงจะทำการยุบตัวลง และค่อยคืนสภาพเดิม กล่าวคือ เป็นอุปกรณ์รองรับน้ำหนัก และความยืดหยุ่นของรถยนต์ โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบช่วงล่าง คือ เป็นตัวรองรับแรงกระแทก และควบคุมการยึดเกาะถนนของตัวรถยนต์ โช้คอัพ และสปริงต้องทำงานร่วมกัน โดยเมื่อมีแรงกดมายังช่วงล่างสปริงจะทำการยุบตัว และค่อย ๆ ดีดตัวขึ้น ตรงส่วนนี้เอง โช้คอัพจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดแรงดีดตัวของสปริง ทำให้แรงดีดตัวของสปริงมีความหนืดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกนุ่มขึ้นของช่วงล่าง ถ้าโช้คอัพสามารถลดแรงดีดตัวของสปริงได้มากเท่าใด ก็แสดงถึง ประสิทธิภาพของโช้คอัพได้มากเท่านั้น
หน้าที่โดยพื้นฐานของ โช้คอัพ
ซึ่งเมื่อขณะที่รถยนต์ได้รับแรงกระแทกจากการวิ่งบนถนนที่ไม่ เรียบ โช้คอัพจะมีหน้าที่เป็นตัวช่วยหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของตัวรถยนต์ และยังช่วยควบคุมการเต้นของล้อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ล้อของรถยนต์ ได้สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ในขณะที่รถแล่นอยู่ตลอดเวลา ให้เกิดความสบายของผู้ขับขี่และให้เกิดการทรงตัวที่ดีที่สุด
ชนิด และวิธีการเลือกซื้อโช้คอัพ
(SHOCK ABSORBERS) ที่ใช้ในรถยนต์อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นโช้คอัพที่ทำงาน โดยอาศัยการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (HYDRAULIC OIL) หรือที่เรียกว่า น้ำมันโช้คอัพ โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบอัดให้น้ำมันไฮดรอลิค ที่อยู่ภายในกระบอกไหล ผ่านรูเล็ก ๆ (ORIFICE) ที่อยู่ภายในลูกสูบ โดยที่รูเล็กๆเหล่านี้ จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ในขณะที่รถวิ่งไปบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะมีการยืดตัวและหดตัว ตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็กๆภายในลูกสูบ จึงมีหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยว การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของสปริงและแหนบของรถยนต์
หลักการทำงาน ทั่วไปของโช้คอัพ
โช้คอัพที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นโช้คอัพที่อาศัยหลักการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (น้ำมันโช้คอัพ) โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบ อัดให้น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่านรูเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกสูบ โดยรูเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อรถได้รับแรงกระเทือนบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะยืด และหดตัวตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็ก ๆ ภายในลูกสูบจึงมีหน้าที่หน่วงเหนียว การดีดตัวอย่างรวดเร็วของสปริง หรือแหนบของรถยนต์โช้คอัพแบ่งออกตามสื่อการทำงานได้เป็น 2 ชนิดคือโช้คอัพรถยนต์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้แบ่งตามรูปแบบการทำงานได้ 2 ชนิด คือ โช้คอัพน้ำมัน โช้คอัพชนิดนี้จะทำงานโดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวทำงานเพียงอย่างเดียว ดังนั้นโช้คอัพชนิดนี้ในขณะทำงานจะเกิดฟองอากาศ จึงทำให้ขาดช่วงการทำงานโช้คอัพแบบแก็ส โช้คอัพชนิดนี้เป็นโช้คอัพน้ำมันไฮดรอลิค แล้วบรรจุแก๊สไนโตรเจนเข้าไปภายในกระบอกโช้คอัพ เพื่อกำจัดฟองอากาศของน้ำมัน ที่เกิดขึ้นภายในโช้คอัพ จึงทำให้โช้คอัพชนิดนี้ทำงานได้อย่างราบเรียบ สม่ำเสมอ
วิธีการตรวจสอบ โช้คอัพ
วิธีการตรวจสอบสภาพของโช้คอัพนั้น ผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบได้ดังนี้
ให้สังเกตุที่หน้ายางของรถยนต์ ถ้าโช้คอัพเสียหน้ายางจะสึกเป็นช่วง ๆ โดยรอบ ให้ใช้มือกดบริเวณด้านบนของบังโคลนทั้งหน้าและหลังหลาย ๆ ครั้ง แล้วปล่อยมือบริเวณที่กด ก็จะมีอาการยืดและหด ถ้ามีอาการเด้งหลาย ๆ ครั้ง แสดงว่าโช้คอัพนั้นชำรุด ในขณะที่ขับรถผ่านทางที่ขรุขระหรือทางที่เป็นทางลูกระนาด รถจะมีอาการโยนตัว สาเหตุมาจากสปริง หรือแหนบจะยืดและหดตัวอย่างเต็มที่ จนยางกันกระแทก จะกระแทกกับปีกนกตัวบนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าขณะนี้โช้คอัพไม่มีแรงที่ จะหน่วงการเคลื่อนที่ของสปริงหรือแหนบเพียงพอแล้ว ให้สังเกตุเวลาขับขี่รถจะมีความรู้สึกว่าควบคุมรถได้ยากมาก นั่นหมายความว่า โช้คอัพไม่สามารถควบคุมการดีดตัวของสปริง หรือแหนบได้ ล้อจะเต้นจนหน้าสัมผัสของยางลอย จากพื้นผิวของถนน อาการเช่นนี้จะเป็นอันตรายอย่างมาก ในขณะขับรถเข้าทางโค้งด้วยความเร็วสูง จะทำให้รถเสียการทรงตัวได้ ให้สังเกตุว่าโช้คอัพมีคราบน้ำมันไหลออกมาหรือไม่ ถ้าหากไม่แน่ใจให้ใช้ผ้าเช็ดแล้วลองตรวจสอบดูอีกครั้ง เพราะคราบน้ำมันนี้อาจจะมาจากสารหล่อลื่น แกนของโช้คอัพก็เป็นไปได้ ถ้าเช็ดแล้วมีคราบน้ำมันอีกก็แสดงว่าโช้คอัพชำรุดให้ถอดโช้คอัพออกมาแล้วดึง ทดสอบความหนืด โดยถอดจุดยึดด้านล่างของโช้คอัพออกแล้วออกแรงดึง การตรวจสอบโช้คอัพลักษณะนี้ ควรตั้งตัวโช้คอัพให้ตั้งฉากกับพื้น แล้วคอยสังเกตุความหนืดของโช้คอัพ
วิธีง่าย ๆ ในการสังเกตุอาการชำรุดของโช้คอัพ
รถเริ่มโคลง หรือ กระดอนผิดปกติ ขณะขับขี่สูญเสียการควบคุมขณะเข้าโค้ง หรือ เบรกดอกยางรถมีลักษณะเป็นบั้ง ไม่เรียบเสมอกัน มีคราบน้ำมันซึมออกข้างกระบอกโช้คอัพ
อายุการใช้งาน
แม้มีมาตรฐานของอายุการใช้งานโดยประมาณแต่ในการใช้งาน จริงจะยืดหยุ่นมากน้อยตามคุณภาพของโช้กอัพ ลักษณะการขับและสภาพถนน เช่น ถ้าถนนแย่ ขรุขระมาก ก็หมดสภาพเร็วหน่อย
โดยเฉลี่ยอายุการใช้งานของ โช้กอัพอยู่ที่ 50,000-100,000 กิโลเมตร ประสิทธิภาพของโช้กอัพจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งานที่ผ่านไป ส่วนจะลดลงเร็วหรือน้อยก็แตกต่างกันออกไป แต่ลดลงเรื่อย ๆ แน่นอน และผู้ขับก็ไม่ค่อยทราบเพราะความเคยชิน การเสื่อมสภาพของโช้กอัพ ไม่จำเป็นต้องแตกหรือรั่วเท่านั้นยังต้องตรวจสอบด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น จอดรถยนต์นิ่ง ใช้น้ำหนักร่างกายกดขย่มลงบนเหนือตัวถังใกล้กับล้อของโช้กอัพตัวที่ต้องการ ตรวจสอบ (ระวังตัวถังบุบไว้ด้วย) เมื่อขย่มลงไปสัก 5 ครั้ง แล้วปล่อย ถ้าโช้กอัพยังดี ตัวรถยนต์ต้องขยับขึ้นลงอีก 1-3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพยังควบคุมความยืดหยุ่นไว้ได้ แต่ถ้าตัวรถยนต์ยังขยับขึ้นลงมากกว่า 3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพหมดความหนืด ไม่สามารถควบคุมความยืดหยุ่นไว้ได้ หากกดแทบไม่ลง หรือเมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วตัวรถยนต์หยุดนิ่งในเกือบจะทันที หรือทันที แสดงว่าโช้กอัพตาย ไม่สามารถยืดยุบตัวได้ตามปกติ การทดสอบขณะรถยนต์จอดนิ่ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดสอบเท่านั้น ต้องประกอบกับการขับเคลื่อนจริงด้วย โดยให้พยายามจับอาการในการขับด้วยว่า มีอาการกระด้างมากขึ้น หรือยวบยวบมากขึ้นไหม แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะอาจมีการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอื่น เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การเสื่อมสภาพของโช้กอัพมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงเกิดความคุ้นเคย จนจับอาการผิดปกติได้ยาก ถ้าไม่แน่ใจว่าโช้กอัพหมดอายุหรือยัง เมื่อใช้งานเกิน 80,000-100,000 กิโลเมตร (โดยทั่วไป 50,000 กิโลเมตร ก็เสื่อมสภาพลงมากแล้ว) หรือ 5 ปี ให้ตัดสินใจเปลี่ยนโช้กอัพไปเลย
เลือก เปลี่ยนอย่างไร
เมื่อโช้กอัพหมดอายุ ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า พึงพอใจกับประสิทธิภาพของโช้กอัพ ชุดเดิมไหม นิ่มหรือแข็งไปไหม ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักเลือกใช้โช้กอัพที่ไม่แข็งมากเป็นมาตรฐาน เพราะต้องการให้การใช้งานส่วนใหญ่ในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง มีความนุ่มนวลสร้างความประทับใจได้ดี ส่วนใหญ่ในช่วงความเร็วสูง ที่ถูกใช้ไม่บ่อย และมีผู้ใช้เท้าหนักไม่มากนัก ถือเป็นเรื่องรองลงไป มักไม่ค่อยมีกรณีที่ผู้ใช้ ไม่พึงพอใจ โช้กอัพชุดเดิมว่าแข็งเกินไป เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักเลือกใช้โช้กอัพโดยเน้น ความนุ่มนวลเป็นหลัก มักจะต้องการโช้กอัพที่แข็งขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง
อยากเปลี่ยน โช้กอัพเทียบเท่ามาตรฐานเดิม
มีหลายทางเลือก
1. โช้กอัพใหม่ตามมาตรฐานจากศูนย์บริการแท้ ๆ มีจุดเด่น คือ ได้โช้กอัพแท้ ๆ ตามมาตรฐานเดิม แบบไม่ต้องลุ้น แต่แพงหน่อยและไม่สามารถเลือกโช้กอัพที่มีความแข็ง ต่างจากเดิม
2. โช้กอัพใหม่ หาซื้อตามร้านอะไหล่ โดยเทียบใช้ในประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือเท่าเดิม ในยี่ห้อที่แตกต่างและราคาถูกกว่า ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักไม่ผลิตโช้กอัพเอง เพราะยุ่งยากสิ้นเปลืองในการลงทุน โดยจะสั่งจากผู้ผลิตรายย่อย (ซัปพลายเออร์) ให้ผลิตตามกำหนดหรือมาตราฐาน แล้วนำมาใช้ในการประกอบรถยนต์หรือจำหน่าย ในศูนย์บริการ โดยผู้ผลิตรายย่อยหลายรายก็มักจะผลิตโช้กอัพในมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียง กัน กับที่ส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกจำหน่ายเองด้วยจึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะเลือก ซื้อนอกศูนย์ บริการได้เริ่มจากการหายี่ห้อของโช้กอัพ ซึ่งมักจะถูกปั๊มไว้บนตัวโช้กอัพเดิม อาจใช้วิธีบอกรุ่นของรถยนต์ หรือยกโช้กอัพเดิมไปเทียบ จะมีราคาถูกกว่าในคุณภาพ ใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีให้เลือกตรงรุ่นเดิมเป๊ะเสมอไป และขาดความสะดวกกว่า การเข้าศูนย์บริการ
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตรายย่อย ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ได้ผลิตส่งโรงงาน ประกอบรถยนต์ แต่ผลิตโช้กอัพในคุณภาพหลากหลายออกมาให้เลือกใช้กัน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ต้องการความแข็ง-อ่อนของโช้กอัพต่างจากมาตรฐานเดิม
3. โช้กอัพเก่า สภาพดีจากเชียงกงทางเลือกนี้มีโอกาสมากเฉพาะรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะใน ไทยมีเชียงกงตลาดอะไหล่ของรถยนต์ญี่ปุ่นเป็นหลัก ราคาไม่แพง แม้อายุการใช้งาน มิได้เหลือเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่เกิน 50-70 เปอร์เซ็นต์ เพราะสภาพถนน ในญี่ปุ่นราบเรียบกว่าไทยมาก การเลือกเน้นได้แค่ดูแกนโช้กอัพต้องเงา ไม่เป็นรอยขูดขีด น้ำมันต้องไม่เยิ้มออกมา ( ระวังโช้กอัพที่ถูกล้างมาก่อน) และยางเบ้าโช้กอัพด้านบน ต้องไม่ขาดหรือไม่โทรมมาก
อีกจุดที่โช้กอัพ เชียงกงสร้างความคุ้มค่าได้มาก สำหรับช่วงล่างแบบ แม็คเฟอร์สันสตรัท ที่นิยมใช้กัน (โช้กอัพถูกร้อยด้วยสปริงรวมเป็นชุดเดียวกัน) คือ มีสปริงและยางเบ้าโช้กอัพ ด้านบนมาพร้อมกับโช้กอัพสปริงเมดอินเจแปนมักมีประสิทธิภาพสูงกว่า และยางเบ้า โช้กอัพของใหม่ ก็มีราคาหลายร้อยจนถึงพันกว่าบาท ถ้าซื้อโช้กอัพใหม่เอี่ยม ก็ต้องใช้สปริงเดิมและถ้ายางเบ้าโช้กอัพด้านบนเสียก็ต้องเสียเงินกันอีก
อยาก เปลี่ยนโช้กอัพแข็งขึ้น
ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนโช้กอัพให้อ่อนลงจากมาตรฐาน เดิม เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ มักเลือกใช้ ช้กอัพที่ไม่แข็งนัก เพื่อสร้างความนุ่มนวลให้เกิดความประทับใจหากแน่ใจแล้วว่าต้องการเปลี่ยน โช้กอัพแข็งขึ้นก็ต้องมองข้ามโช้กอัพแบบมาตรฐานเดิมจากศูนย์บริการไป แล้วอย่าลืมว่า ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างเป็นธรรมดา จะให้นุ่มนวลมาก ๆ แล้วทรงตัวในช่วงความเร็วสูงดี ๆ คงหาได้ยาก
ในการเลือกต้องรอบคอบว่า อยากได้โช้กอัพที่แข็งมากขึ้นเท่าไร อยากให้ทรงตัวดีในช่วง ความเร็วสูงมาก ๆ โช้กอัพก็ต้องยอมรับความกระด้างไว้ด้วย หากเลือกโช้กอัพแล้ว แข็งหรืออ่อนไปจากความต้องการจริง คงไม่คุ้มค่า จึงต้องสอบถาม พร้อมหาข้อมูล และเลือกอย่างรอบคอบว่าโช้กอัพที่จะเลือกนั้นแข็งขึ้นแค่ไหนตรงความต้องการ ไหม ความเสี่ยงที่เลือกซื้อโช้กอัพมาแล้ว มีความแข็งอ่อนไม่ตรงตามต้องการมีไม่น้อย การลดความเสี่ยงทำได้โดยเลือกโช้กอัพที่สามารถปรับระดับความแข็งอ่อนได้ ส่วนจะปรับได้ด้วยวิธีไหนและแค่ไหน ก็ยังดีกว่าปรับไม่ได้เลย
ทางเลือก โช้กอัพแข็งขึ้น
ใหม่ และเก่ารถยนต์ญี่ปุ่น มี 2 ทางเลือก แต่รถยนต์ยุโรปมักต้องเลือกโช้กอัพใหม่ เพราะในไทย มีเชียงกง-ตลาดอะไหล่เก่าของรถยนต์ญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยผู้ใช้รถยนต์ญี่ปุ่น สามารถเลือกโช้กอัพเก่าสภาพดี ๆ แบบแข็งขึ้นได้ จากรถยนต์ตัวถัง ที่มีรุ่นสมรรถนะ สูงกว่าจำหน่ายในญี่ปุ่น เช่น มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในไทยมีแค่รุ่น 1.8 สูงสุด แต่ในญี่ปุ่น มีถึงรุ่น 1.8 เทอร์โบ และ 2.0 เทอร์โบ เมื่อเครื่องยนต์มีพลังแรงกว่า ก็ย่อมต้องใช้โช้กอัพและสปริง ที่แข็งขึ้นหรือแลนเซอร์รุ่น 2-3 ประตูสปอร์ตก็ย่อมต้องใช้โช้กอัพและสปริงที่แข็งขึ้น กว่ารุ่นซีดานพื้น ๆ เป็นธรรมดา
หากเข้าเชียงกง ควรยกโช้กอัพพร้อมสปริงชุดเดิมไปเทียบขนาด โดยต้องแน่ใจว่า โช้กอัพชุดที่จะซื้อแข็งกว่า ด้วยการระบุรุ่นจากการเขียนของคนที่ถอดมา หรือดูจาก ขนาดของข้อสปริงที่ใหญ่กว่าพร้อมตัวโช้กอัพหรือแกนที่อ้วนกว่าโดยทั่วไปแล้ว โช้กอัพเหล่านั้นจะไม่แข็งขึ้นมาก เพราะก็ยังเป็นของรถยนต์ในสายการผลิตที่เน้น ความนุ่มนวลอยู่ แต่ถ้าเลือกพลาดก็ไม่น่าจะอ่อนกว่าเดิม การเลือกโช้กอัพที่แข็งขึ้นจาก เชียงกง มีข้อจำกัดคือ ไม่ได้มีให้เลือกสำหรับรถยนต์ทุกรุ่นและมักจะแข็งขึ้นกว่าเดิมไม่มาก ถ้าต้องการโช้กอัพที่แข็งขึ้นมาก ๆ ควรหันไปซื้อของใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น