บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เครื่องยนต์ดีเซลดีกว่าเบนซินยังไง


เครื่องยนต์ดีเซลดีกว่าเบนซินยังไง
การเลือกเครื่องยนต์เบนซินกับดีเซล
* เครื่องยนต์เบนซิน ให้อัตราเร่งได้ดีกว่าเครื่องยนต์ดีเซล แต่ต้องใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงอัตราการเร่งเครื่อง แซงรถในทางเรียบทำได้ดี
* เครื่องยนต์ดีเซล อัตราเร่งจะช้ากว่าเครื่องยนต์เบนซิน ยกเว้นเครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ
เครื่องยนต์มีแรงบิดต่อรอบสูง ทำให้รถมีกำลังในการใช้งานหนักได้ดี เช่น ขับรถขึ้นเขา, ฉุดลาก และบรรทุกสิ่งของ
* การที่รถมีแรงบิดสูง การขับรถจึงต้องระมัดระวังในการขับขี่ไม่ควรเลี้ยงรอบเครื่องแล้วเร่งเครื่องปล่อยคลัตช์ในทันที ระบบส่งกำลังจะเสียหาย เช่น เพลาขาด
* เครื่องยนต์เบนซินมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล ยกเว้นเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ ECU ในการควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ การขับรถเบนซินลงน้ำลึกๆ จะทำได้ไม่ดีเท่าเครื่องดีเซล
* เครื่องยนต์ดีเซลใช้ไฟฟ้าเล็กน้อย ทำให้ขับข้ามน้ำได้ดี แต่ก็มีสิทธิ์จมน้ำได้เหมือนกัน ถ้าขาดความรอบคอบและความระมัดระวังในการขับรถ
* การที่เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินมีแรงบิดต่อรอบต่างกัน จึงทำให้การกู้รถจมน้ำหรือพลิกคว่ำแตกต่างกัน การสตาร์ทเครื่องยนต์หลังกู้รถแล้วเสร็จ ถ้ามีน้ำหรือน้ำมันเครื่องเข้าไปอยู่ในลูกสูบ จะทำให้ฝาสูบโก่ง, ก้านสูบคด ฯลฯ ควรเปิดหัวเทียน, หัวเผาแล้วสตาร์ทแห้งไล่น้ำและน้ำมันเครื่องออก
* ราคาน้ำมันแตกต่างกัน การกินน้ำมันกับเครื่องยนต์ที่มีซีซีเท่ากันก็แตกต่างกัน… ทุกคนคงรู้ดี
* ถ้าท่านเป็นคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบคาราวานต่างประเทศรอบบ้านเรา การหาน้ำมันเติมรถเป็นเรื่องสำคัญ ยังไงดีเซลก็หาเติมง่ายกว่าเบนซินไร้สาร ถ้าไม่มีเอาน้ำมันมะพร้าวเติมก็วิ่งได้เลย
* การสึกหรอของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์รอบจัด ความสึกหรอก็มากตามไปด้วย
โครงสร้างรถ 4WD
1.  รถยนต์ที่ใช้ระบบโครงสร้าง “แชสซีส์” มีโครงสร้างเหล็กรองรับตัวถัง, เครื่องยนต์ รถยนต์ระบบนี้จะให้ความแข็งแรงทนทาน ใช้งานหนักได้ดี การปรับแต่งทำได้เต็มที่ตามต้องการ แต่การทรงตัวรถทำได้ไม่ดีเท่าระบบ “โมโนค็อก” เนื่องจากตัวรถจะไม่บิดตัวตามสภาพเส้นทาง แข็งทื่อเป็นท่องเหล็ก
1. โครงสร้างแบบรถเก๋ง “โมโนค็อก” หรือ “ยูนิบอดี” ของจิ๊ป โครงสร้างแบบนี้การทรงตัวรถทำได้ดีมาก พูดง่ายๆ รถคว่ำยาก ตัวถังรถจะบิดตัวไปตามสภาพเส้นทาง แต่ข้อเสียถ้านำไปแล่นในเส้นทางออฟโรดหนักๆ ตัวถังรถจะบิดตัวไม่เข้าที่เดิม ประตูจะปิดไม่สนิท จุดยึดต่างๆ จะเปลี่ยนไปบ้าง
รถช่วงสั้นหรือช่วงยาวดี
* รถช่วงสั้นล้อหน้าและล้อหลังอยู่ใกล้กันทำให้เลี้ยวรถในวงแคบได้ดี ช่วงล่างจะทำมุมปีนป่ายที่สูงดี แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะหงายท้องได้ง่ายถ้าขึ้นทางลาดชันมากๆ ขับในทางเรียบ หน้ารถจะไวมากบังคับยาก
* รถช่วงยาว จะไปทางเรียบได้ดีไม่เหนื่อย หน้ารถไม่ไว แต่วงเลี้ยวจะกว้าง ขับขึ้นทางชันได้ดี เป็นรถที่เหมาะในการขับรถทางไกลๆ
ระบบรับแรงสั่นสะเทือน
1. ระบบ “คอยล์สปริง”
จะให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ ล้อรถจะตกพื้นได้เร็วทำให้รถมีสมรรถนะในการขับเคลื่อน
ได้ดี แต่ถ้าเป็นที่ใช้ระบบ “คอยล์สปริง” หน้า-หลังแหนบ ความนุ่มนวลจะหายไปบ้างถ้าต้องการความนุ่มนวลกลับคืนมาต้องปรับแต่งเปลี่ยนโช้กอัพและแหนบใหม่
2. ระบบ “ทอร์ชั่นบาร์”
ใช้การบิดตัวของแกนเหล็กที่วางตามแนวนอน ระบบนี้ก็ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ได้ดี
ถ้าเลือกแหนบหลังให้เหมาะสมกับรถ
3. ระบบ “แหนบ”
ระบบนี้แข็งแรงทนทาน การบำรุงรักษาต่ำ ความนุ่มนวลไม่มีในระบบนี้ ล้อรถจะตกถึงพื้นช้า ทำให้รถทรงตัวได้ไม่ดีขณะวิ่งลงเนิน แต่จะวิ่งได้ดีในทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ
ช่วงล่างระบบปีกนก
ระบบนี้จะมีชิ้นส่วนประกอบมาก การบำรุงรักษาสูงแต่รถจะเกาะถนนได้ดี มุมเลี้ยวแคบ นุ่มนวล ขับขี่ทางไกลขับสบาย
ถ้ามาใช้งานออฟโรดหนักจะทำได้ไม่ดี เนื่องจากช่วงล่างด้านหน้าต่ำ ถ้าจะทำให้สูงต้องขันทอร์ชั่นบาร์ขึ้น มุมเพลาขับด้านข้างจะทำมุมมากเกินไปเวลารถยุบตัวลงมาจาการโดดเนิน ฯลฯ รถจะยุบลงมาทั้งตัว คานหน้าจะกระแทกหินหรือเนิน ขณะขับทางที่เป็นร่องลึกรถจะติดอกด้านหน้าก่อน
ระบบช่วงล่างคานแข็ง
วงเลี้ยวรถจะกว้าง หน้ารถจะไว ถ้ายกรถให้สูงมาก (แหนบยิ่งโค้งมากเท่าใด หน้ารถจะไวตามไปด้วย) การขับขึ้นเนินลงเนินในทางเรียบและลื่นต้องระมัดระวัง ความนุ่มนวลไม่มี
ข้อดีช่วงล่างสูงทนทาน มีชิ้นส่วนน้อย การบำรุงรักษาต่ำ วิ่งได้ดีบนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หิน ตอไม้หรืออุปสรรคต่างๆ ได้ดี และยังติดตั้งอุปกรณ์ล็อกเพลาขับได้
แหนบใต้เพลาหรือเพลาได้แหนบดี ?
แหนบใต้เพลา
จะให้การทรงตัวรถขณะขับเข้าโค้งได้ดี เนื่องจากน้ำหนักของรถอยู่ได้เพลา อีกทั้งยังช่วยให้ท้ายรถปัดพลิกคว่ำได้ยาก ขณะขับรถลงเนินที่เป็นทางลื่นและชัน เปรียบได้กับเราห้อยตัวลงมาบาร์ แต่ถ้าเราไปยืนบนบาร์ การทรงตัวจะทำได้ไม่ดี
ข้อเสียของแหนบใต้เพลา ชุดยึดแหนบ, สาแหรกจะอยู่ต่ำ ขณะขับรถผ่านหิน ผ่านร่อง จะทำให้ติด, ชนหินและเนิน (ติดอก) รถบางคันใช้สาแหรกยาว (นอตตัว U- ยึดแหนบและเพลา) ปลายนอตจะเป็นเสมือนเดือยเข้าไปทิ่มดิน, หิน และทำให้รถขยับไม่ได้ จะใช้วินช์หรือรถมาลากก็ลากไม่ขึ้น ถ้ารถคันไหนไม่ใช้เชือกกระตุกลาก รถที่ลากก็มีสิทธิ์ที่เฟืองท้ายหรืออะไรก็ตามที่ไม่แข็งแรงจะพังตามไปด้วย
วิธีแก้ไขให้ใช้ไฮลิฟต์ แจ๊คยกรถขึ้นทีละล้อแล้วนำท่อนไม้, หิน ฯลฯ เข้าไปรองใต้ล้อรถให้สูงขึ้นทั้ง 4 ล้อ แล้วขับขึ้นมาและถ้ารถติดเพราะเฟืองท้าย/หน้า เป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ ไม่ฝังตัวเหนือปลายนอต
ข้อเสียประการที่สอง ถ้าต้องการยกรถให้สูง เพราะต้องการใส่ล้อให้ใหญ่ ต้องยกตัวถังรถขึ้นและใช้โตงเตงให้ยาวขึ้นกว่าเดิม (โตงเตงยาวมากก็ไม่ดี รถจะโยนตัว) การยกรถให้สูงขึ้นโดยยกตัวถังรถขณะที่เครื่องยนต์ยังอยู่มนตำแหน่งเดิมพัดลมจะพัดไม่ตรงตำแหน่งเดิม ที่หม้อน้ำ เครื่องยนต์อาจจะร้อนขึ้นได้ วิธีแก้ไขก็ต้องย้ายหม้อน้ำใหม่…เสียเงินเพิ่มเข้าไปอีก
เมื่อรถสูงขึ้น จะเกิดช่องว่างระหว่างบังโคลนกับแชสซีส์ ควรหาแผ่นพลาสติกมาปิดช่องว่างนี้เพื่อป้องกันน้ำ, โคลน, หินและทรายกระเด็นเข้าไป จะทำให้ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท เสียหายได้ง่าย
แหนบบนเพลา
ระบบนี้การขับขี่ในทางโค้งทำได้ไม่ดี ถ้าเป็นทางลื่นลงเขา ท้ายรถจะปัดได้ง่าย ถ้าเป็นรถที่มีแหนบใต้เพลา แล้วแก้ไขมาเป็นแหนบบนเพลาด้วยแล้ว (แหนบหน้าและหลัง) หน้าจะไวมากบังคับรถได้ยาก การที่รถมีช่วงสูงและเครื่องอยู่สูง ทำให้ขับรถลุยน้ำที่ไม่ลึกมากได้ดี เครื่องยนต์อยู่พ้นน้ำ ทัศนวิสัยการมองก็ดี มองได้ไกล มองได้ลึกกว่ารถที่เตี้ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น