บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการดับกลิ่นรถยนต์

วิธีการดับกลิ่นรถยนต์


       พฤติกรรมหลายอย่างที่ทำให้รถมีกลิ่นเหม็น เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารในรถ หรือแม้แต่การไม่ทำความสะอาดรถเลย หลายคนแก้ปัญหาด้วยการวางน้ำหอมไว้ในรถเพื่อดับกลิ่น แต่คุณรู้ไหมว่า นั่นคืออันตราย

มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกไว้ว่า การใช้น้ำหอมกำจัดกลิ่นในรถ เป็นอันตรายมาก เพราะเมื่อน้ำหอม (รวมทั้งการบูร) เหล่านี้ได้รับความร้อน เช่น ตอนจอดรถตากแดดไว้นาน ๆ จะเกิดการระเหยและวนเวียนอยู่ในรถ



สุดท้ายก็จะไปเกาะตามขอบมุมต่าง ๆ ในรถ ยิ่งถ้าเปิดแอร์เป่าทุกวัน นานวันจะกลายเป็นเมือก เป็นเชื้อรา ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวการทำให้แอร์อุดตันแล้ว เมื่อสูดดมเป็นประจำ อาจนำมาซึ่งโรคมะเร็ง ได้

ดังนั้น มาหาหนทางกำจัดสารพัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในรถด้วยวิธีธรรมชาติกันดีกว่า

กลิ่นบุหรี่

ใช้เบกกิ้งโซดา (ผงฟู) 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ถ้วยใบเล็กตั้งทิ้งไว้ในรถ 1-2 ช.ม. กลิ่นจะหายไป แต่ทางที่ดี อย่าสูบดีกว่า เพราะบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ง่ายกว่าน้ำหอมหลายเท่านัก

กลิ่นอับ

มี 3 สูตรดับกลิ่นดังนี้

1. นำใบชาแห้งใส่ถุงผ้าห้อยไว้ในรถ วิธีนี้จะช่วยให้กลิ่นอับในรถเจือจางลง
2. ใช้น้ำส้มสายชู 2-4 ช้อนโต๊ะ เทใส่ถ้วย ตั้งทิ้งไว้ในรถประมาณ 1-2 ช.ม. ความเปรี้ยวของน้ำส้มสายชูจะช่วยดูดกลิ่นอับชื้นในรถใหหายไป
3. นำถ่ายไม้สัก 1-2 ก้อน ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ในรถสามารถช่วยลดกลิ่นอับได้เช่นเดียวกับที่เราใส่ไว้ในตู้เย็น
* นอกจากนี้ ถ้าหากคุณยังเคยชินกับการขับรถแล้วต้องมีกลิ่นหอม ๆ แนะนำให้หาสมุนไพรหรือดอกไม้ เช่น ใบเตย ใบมะกรูด ดอกมะลิ มาใส่ไว้ในรถแทนน้ำหอมปรับอากาศ เพราะในพืชสมุนไพรเหล่านี้ นอกจากจะมีน้ำมันหอมระเหยตามธรรมชาติที่ช่วยผ่อนคลาย ปลอดภัยต่อสุขภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังประหยัดอีกด้วย

จัดการกับพรมในรถ

พรมเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในรถและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค มีข้อแนะนำในการดูแลพรมมาฝาก เริ่มจาก

พรมเปียกน้ำ

ถ้าเป็นพรมชนิดที่ไม่สามารถยกออกได้ง่าย ๆ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้หมด จากนั้นขับรถไปจอดกลางแดด เปิดกระจำทิ้งไว้ ความร้อนจะช่วยทำให้พรมแห้งเร็วขึ้น หรือถ้าสามารถถอดพรมออกมาได้ควรนำออกไปตากแดด เพราะนอกจากจะช่วยลดความเปียกชื้นของพรมแล้ว ยังช่วยลดเชื้อราที่หมักหมมอยู่ในพรมได้ด้วย

พรมเปื้อนคราบต่าง ๆ

อาจเกิดจากคราบกาแฟ คราบอาหาร (สำหรับคนที่ชอบกินอาหารในรถ) หรือสารคเคมีจำพวกน้ำยาล้างเล็บ จาระบี ให้ซักด้วยแชมพูสำหรับซักพรม (มีขายทั่วไป) แล้วจอดรถตากแดดและเปิดประตูรถทิ้งไว้

หมากฝรั่งติดพรม

ใช้นำแข็งประคบที่หมากฝรั่ง ความเย็นจะทำให้หมากฝรั่งแข็งตัว จากนั้นใช้ช้อนขูดออก

ใส่ใจกับเบาะรถกันหน่อย

จัดการกับพรมในรถไปแล้ว คราวนี้มาดูเรื่องเบาะกันบ้างดีกว่า เบาะรถยนต์ส่วนใหญ่ทำจากหนังเทียม ทำให้มักจะเกิดความสกปรกได้ง่าย มีวิธีจัดการดังนี้

ไม้หวายลดคราบฝุ่น

เป็นการทำความสะอาดผ้าเบาะอย่างหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เพียงนำรถของคุณไปจอดกลางแดด จากนั้นเปิดประตูทุกบาน แล้วใช้ไม้ตีที่นอนซึ่งทำจากหวายมาตีที่เบาะและพนักพึงให้ทั่วทั้งเบาะหน้าและเบาะหลัง (ระหว่างตีจะสังเกตเห็นฝุ่นฟุ้งกระจาย ดังนั้น คนตีควรอยู่ต้นลม) วิธีนี้จะช่วยให้ฝุ่นละอองและคราบสกปรกที่สะสมอยู่ที่ผ้าเบาะหลุดออก

น้ำส้มสายชูลบคราบสกปรก

สำหรับเบาะหนังที่มีคราบเปื้อนต่าง ๆ ติดอยู่ ให้ใช้น้ำส้มสายชูชุบผ้าสะอาดพอหมาดเช็ดไปมา (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรอยเปื้อน) เพียงเทานี้คราบไม่พึงประสงค์ทั้งมวลก็จะหายไป

- http://www.deedeejang.com

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

เชฟโรเลต คอร์เวทท์ 2014 สเปค ราคา

เชฟโรเลต คอร์เวทท์ 2014 สเปค ราคา


เชฟโรเลต เปิดตัวคอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมกำหนดนิยามใหม่ให้รถสปอร์ตสมรรถนะสูง ตอกย้ำชื่อในตำนานอย่างสติงเรย์ ที่จะต้องผสมผสานเทคโนโลยี การออกแบบและสมรรถนะได้อย่างสมบูรณ์แบบ

คอร์เวทท์ สติงเรย์ 2014 ไม่เพียงเป็นรถรุ่นสแตนดาร์ดที่ทรงพลังที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ด้วยพละกำลังระดับ 450 แรงม้า แรงบิด 610 นิวตันเมตร คอร์เวทท์ รุ่นใหม่ยังมีอัตราเร่งเร็วที่สุดด้วย สามารถออกตัวจาก 0-96 กม./ชม.ในเวลาต่ำกว่า 4 วินาที มีประสิทธิภาพเกาะถนนอย่างเหนียวแน่นขณะเข้าโค้งโดยสามารถสร้างแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางได้สูงถึง 1จี ไม่เพียงเท่านั้น คอร์เวทท์รุ่ นล่าสุดนี้ยังมีอัตราบริโภคน้ำมันเหนือกว่ารุ่นปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 11 กม./ลิตร ประเมินโดยหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ

“คอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นใหม่ถ่ายทอดแนวคิดมาจากสติงเรย์ รุ่นแรกเมื่อปี 1963 เพียบพร้อมด้วยสมรรถนะระดับผู้นำ อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย การออกแบบที่ดึงดูดทุกสายตาและมอบประสบการณ์ขับขี่อันตื่นตาตื่นใจ” มาร์ก รีอัส ประธานกรรมการจีเอ็ม อเมริกาเหนือ กล่าว “คอร์เวทท์ รุ่นใหม่ล่าสุดได้ก้าวล้ำหน้าเกินกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยการผสมผสานการออกแบบ เทคโนโลยีและระบบวิศวกรรมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน”





คอร์เวทท์ สติงเรย์ เจนเนอเรชั่นใหม่ใช้ชิ้นส่วนร่วมกับรุ่นก่อนหน้าเพียงสองชิ้นเท่านั้น มาพร้อมกับโครงสร้าง แชสซีส์ เครื่องยนต์และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุด รวมถึงการออกแบบใหม่หมดทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและห้องโดยสารภายใน โดยมีความโดดเด่น ดังนี้

• ห้องโดยสารที่ใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ อลูมิเนียมและหนังเกรดพิเศษผลิตด้วยมือ มีเบาะที่นั่งให้เลือกสองแบบ ซึ่งล้วนใช้โครงสร้างแม็กนีเซียมน้ำหนักเบาและรองรับสรีระของผู้ขับขี่และผู้โดยสารอย่างเต็มที่ พร้อมกับติดตั้งหน้าจออินโฟเทนเมนท์และแสดงผลการขับขี่ขนาด 8 นิ้วสองตัว

• เทคโนโลยีสนับสนุนผู้ขับขี่อันล้ำสมัย โดยเฉพาะการเลือกโหมดการขับขี่ได้ห้าโหมด (Drive Mode Selector) ที่สามารถปรับได้ถึง 12 รูปแบบรองรับทุกสภาวะการขับขี่ ขณะที่ระบบเกียร์ธรรมดา 7 สปีดรุ่นใหม่มาพร้อมระบบประสานรอบเครื่องยนต์ Active Rev Matching ซึ่งประเมินการเปลี่ยนเกียร์และควบคุมรอบเครื่องยนต์ให้เหมาะสมเพื่อความสมบูรณ์แบบทุกครั้งที่เปลี่ยนเกียร์

• ขุมพลังขับเคลื่อนบล็อก V8 รหัส LT1 ความจุ 6.2 ลิตร รุ่นใหม่ล่าสุด ผสมผสานเทคโนโลยีอันก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวฉีดตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม ระบบการจัดการเชื้อเพลิง Active Fuel Management ระบบวาล์วแปรผันต่อเนื่องและระบบเผาไหม้ที่ทันสมัย มอบพละกำลังที่เหนือกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงน้อยลง

• ใช้วัสดุน้ำหนักเบา ทั้งฝากระโปรงและแผงหลังคาทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้วัสดุผสมคาร์บอนบริเวณซุ้มล้อ ประตูและบริเวณด้านท้ายรถ ขณะที่พื้นใต้ท้องรถทำจากคาร์บอน-นาโน รวมถึงการพัฒนาเฟรมอลูมิเนียมเพื่อถ่ายเทน้ำหนักมาด้านหลัง เพิ่มรักษาสมดุลของน้ำหนักตัวรถหน้า/หลังให้อยู่ที่ 50/50 เสริมอัตราส่วนน้ำหนักต่อแรงม้าที่อยู่แถวหน้าในระดับโลก

• รูปลักษณ์ภายนอกโดดเด่นด้วยกรอบไฟเอชไอดีและแอลอีดี พร้อมกับรูปทรงลู่ลมตามหลัก
แอโรไดนามิกที่ถ่ายทอดจากสนามแข่ง มีแรงเสียดทานอากาศต่ำ เพิ่มศักยภาพการควบคุมและประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง



• แพ็คเกจสมรรถนะสูง Z51 Performance Package รองรับการขับขี่ในสนามแข่ง ไม่ว่าจะเป็นเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปอิเลกทรอนิก ระบบหล่อลื่นแบบอ่างแห้ง ระบบเบรกประสิทธิภาพสูง ระบบหล่อเย็นเกียร์และเฟืองท้าย รวมถึงชุดแต่งแอโรพาร์ทรอบคันเพื่อเพิ่มเสถียรภาพการขับขี่ในย่านความเร็วสูง

“สติงเรย์ เป็นหนึ่งในยนตรกรรมที่ได้รับยกย่องมากที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์” เอ็ด เวลเบิร์น รองประธานฝ่ายออกแบบจีเอ็ม โกลเบิล กล่าว “เราตระหนักดีว่า เราไม่สามารถใช้ชื่อสติงเรย์ได้ หากรถรุ่นใหม่นี้ไม่สามารถเทียบได้กับความยิ่งใหญ่ในอดีต คอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นใหม่ได้ฉีกกรอบดั้งเดิมพร้อมกับยังคงเอกลักษณ์ในแบบของคอร์เวทท์ ที่คนทั้งโลกรู้จัก”

คอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นใหม่จะขึ้นสายการผลิตที่ศูนย์การผลิตจีเอ็ม โบว์ลิ่ง กรีน รัฐเคนตักกี้ ซึ่งได้รับการยกระดับด้วยเงินลงทุนกว่า 3,900 ล้านบาท (131 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) รวมถึงเม็ดเงินอีกราว 1,500 ล้านบาท (52 ล้านเหรียญฯ) สำหรับการสร้างโรงงานขึ้นรูปตัวถังแห่งใหม่ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่จีเอ็ม ดำเนินการผลิตโครงสร้างอลูมิเนียมภายในศูนย์การผลิตรถยนต์ของบริษัทฯ

“เราเชื่อมั่นว่าคอร์เวทท์ จะสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตของรถสมรรถนะสูงสมัยใหม่ เพียบพร้อมด้วยพละกำลังที่เหนือกว่า ความตื่นเต้นในการขับขี่ที่มากกว่าและอัตราประหยัดน้ำมันที่ดีกว่า” แทดจ์ เจคเตอร์ หัวหน้าทีมวิศวกรของคอร์เวทท์ กล่าว “ผลลัทธ์ที่ได้คือสมรรถนะการขับขี่ที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิมในทุกมิติ คอร์เวทท์ รุ่นปี 2014 มอบอัตราเร่งที่เร็วที่สุด การยึดเกาะถนนที่เหนียวแน่นที่สุด รองรับการขับขี่ในสนามแข่งอย่างดีเยี่ยมที่สุด มีระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเราคาดว่าจะเป็นรถคอร์เวทท์ รุ่นสแตนดาร์ดที่มีความประหยัดน้ำมันดีที่สุดด้วย”

ที่มา http://www.auto-thailand.com/WorldCar/Chevrolet-Corvette-Stingray-2014.html

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการดูเเลช่วงล่างรถยนต์อย่างถูกต้อง

วิธีการดูเเลช่วงล่างรถยนต์อย่างถูกต้อง


ระบบช่วงล่างรถยนต์ รวมระบบกันสะเทือน หรือที่เรียกว่า Suspensions ในภาษาอังกฤษ มีหน้าที่ลดอาการสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจากล้อสัมผัสกับพื้นถนน ให้เหลือแรงสะเทือนส่งไปยังห้องโดยสารให้น้อยที่สุด แต่ระบบกันสะเทือนก็ยังมีหน้าที่และประโยชน์อีกหลายข้อด้วยกันครับ ได้แก่ ช่วยให้การบังคับควบคุมรถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ, รักษาระดับตัวรถ ให้พื้นรถห่างจากผิวถนนคงที่, ควบคุมล้อให้ตั้งฉากกับพื้นถนนตลอดเวลาเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกั บพื้นถนนมากที่สุด แม้ในขณะเข้าโค้ง, ลดอาการกระดก และโยนตัว สมดุลให้รถอยู่ในสภาพปกติ ขณะเคลื่อนที่ผ่านผิวถนนที่ไม่ราบเรียบ



การรองรับน้ำหนัก ในศัพท์ทางรถยนต์ หมายถึง การใช้สปริงคั่นกลางระหว่างโครงรถ (Frame), ตัวถัง (Body), เครื่องยนต์, ชุดส่งกำลัง กับล้อ ซึ่งเป็นส่วนที่รับภาระจากการสัมผัสโดยตรงกับพื้นถนน น้ำหนักของอุปกรณ์ดังกล่าว ตลอดจนน้ำหนักบรรทุกที่อยู่ด้านบนของสปริง เราเรียกว่า น้ำหนักเหนือสปริง (Sprung weight) ส่วนน้ำหนักใต้สปริง ซึ่งได้แก่ ล้อ, ยาง, ชุดเพลาท้าย (ในรถที่ใช้แบบคานแข็ง) และเบรก จะเป็นน้ำหนักที่สปริงไม่ได้รองรับ ถูกเรียกว่า น้ำหนักใต้สปริง (Unsprung weight)



หน้าที่และชนิดของสปริง
สปริงจะยุบและยืดตัวเมื่อล้อวิ่งผ่านผิวถนนที่ขรุขระ ส่งผลให้ล้อเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้เกือบอิสระในแนวดิ่งจากโครงรถ ทำให้สามารถ "ดูดกลืน" (Absorb) แรงเต้นของล้อลงได้ แรงจากการเคลื่อนที่ของล้อจึงถูกส่งถ่ายไปยังตัวถังน้อยกว่าที่ ล้อเต้นจริง ผลก็คือผู้โดยสารและน้ำหนักบรรทุกจะได้รับแรงสะเทือนจากล้อลดลง นั่นเอง
เรามักเข้าใจว่า "สปริง" คือ ขดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ขดเป็นวง รูปทรงกระบอก (สปริงขด หรือ Coil Spring) แบบอย่างที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด แต่ในความเป็นจริง สปริงยังมีอยู่อีกหลายประเภท หลายรูปแบบ และที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ แหนบ (Leaf Spring), เหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์(Torsion bar), สปริงลม (Air Spring), สปริงยาง (Rubber Spring) และ ไฮโดรนิวเมติก (Hydro - Pneumatic) ในอนาคตเมื่อความก้าวหน้าทางวิศวกรรมสูงขึ้นอีก ก็อาจมีสปริงรูปแบบใหม่ๆ ออกมาใช้งานอีกก็เป็นได้
แหนบจะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนโดยการ "โค้งหรืองอตัว" ของแผ่นแหนบ สปริงขดรับน้ำหนักโดยการ "หด หรือยุบตัว" ของขดสปริง ส่วนเหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์ นั้น จะรับแรงสั่นสะเทือนโดยการ "บิดตัวของเพลา", สปริงลมลดแรงสั่นสะเทือนจากการ "อัดตัวของลม" ในถุงลม, ส่วนสปริงแบบไฮโดรนิวเมติก ดูดซับแรงสั่นสะเทือน โดยการอัดตัวของแก๊สไนโตรเจนและของเหลว (ที่ใช้อยู่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก) ในระบบ


แบบคานแข็ง (Solid axle suspension) คานแข็ง

ล้อด้านซ้ายและล้อด้านขวาอยู่บนเพลาเดียวกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาและในปัจจุบันก็ยังมีใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถบรรทุก รถยนต์นั่งมีเฉพาะล้อหลัง แต่ก็มีให้เห็นน้อยลงเรื่อยๆ ข้อดี คือ แข็งแรง ทนทาน ค่าสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักใต้สปริงมาก เมื่อล้อใดล้อหนึ่งเอียงไป ล้อที่อยู่บนคานเดียวกันจะเอียงตามไปด้วย การควบคุมรถที่ความเร็วสูง และสภาพถนนขรุขระจึงไม่ดีเท่าที่ควร


แบบอิสระ (Independent suspension) ล้อทั้ง 4 ของระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้จะเต้นเป็นอิสระต่อกัน ไม่ส่งผลไปยังล้อที่อยู่ตรงกันข้าม หรือถ้ามีบ้างก็น้อยมาก น้ำหนักใต้สปริงของระบบรองรับแบบนี้มีน้อย แรงเฉื่อยจากการเต้นของล้อจึงมีน้อยกว่า อาการเต้นของล้อจึงกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว น้ำหนักใต้สปริงของระบบกันสะเทือนแบบอิสระน้อยมากยิ่งขึ้นไปอีก ในปัจจุบัน เพราะผู้ผลิตหลายรายหันมาใช้อะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา เป็นส่วนประกอบหลักของระบบกันสะเทือนแทนเหล็ก ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าแทบทั้งชุด การควบคุมรถจึงทำได้อย่างมีเสถียรภาพมากกว่า และยังนุ่มนวลกว่า ซึ่งระบบรองรับแบบอิสระจะแบ่งออกไปอีกหลายประเภท อาทิ ปีกนก, เซมิเทรลิ่งอาร์ม, แม็คเฟอร์สันสตรัท, มัลติลิงค์ และอีกหลายระบบที่พัฒนาบนพื้นฐานของระบบที่ยกตัวอย่างมา รวมถึงยังมีการนำแต่ละระบบมาผสมผสานกันด้วย

ปีกนก (Wishbone suspension)
การออกแบบแตกต่างกันไป เช่น ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันแต่ขนานกัน, ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันและไม่ขนานกัน ระบบรองรับน้ำหนักประเภทนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันสามารถออกแบบให้แข็งแรงมากพอ และใช้อะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา แทนโครงสร้างเดิมที่เป็นเหล็ก จึงไม่แปลก นอกจากในรถยนต์นั่งแล้ว รถ Off-road หลายรุ่นก็ใช้ระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้ด้วย


เซมิเทรลิ่งอาร์ม (Semi trailing arm)
แขนเต้น (Trailing arm) อาจมีอยู่ 2 แขน หรือแขนเดียวก็ได้ ถ้าเป็นแขนเดียวจะเรียกว่า เซมิเทรลิ่งอาร์ม (Semi trailing arm) ถูกออกแบบให้ใช้ในล้อหลัง แขนเต้นมีใช้ทั้งแบบจุดหมุนอยู่ตามแนวยาวและจุดหมุนอยู่ตามแนวข วางกับตัวรถ ปัจจุบันมีให้เห็นมากในรถ MPV ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า จุดเด่น คือ มีชิ้นส่วนในการเคลื่อนที่น้อย ห้องโดยสารจึงออกแบบได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

แม็คเฟอร์สันสตรัท (MacPherson strut)
การออกแบบคล้ายกับระบบปีกนกธรรมดา แต่ไม่มีปีกนกบน โช้คอัพและคอยล์สปริงจะรวมอยู่บนแกนเดียวกัน ทำให้ประหยัดเนื้อที่และลดชิ้นส่วนต่างๆ ลงได้มาก ตัวถังบริเวณที่รองรับชุดแม็คเฟอร์สันสตรัท ต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ ข้อเสียของระบบกันสะเทือนชนิดนี้ คือ ไม่สามารถทำให้รถต่ำลงเท่าระบบกันสะเทือนแบบปีกนก จึงไม่นิยมใช้กับรถแข่งทางเรียบ (Racing Car) แต่บนทางฝุ่นในสนามแรลลี่โลก ใช้ แม็คเฟอร์สันสตรัทเกือบทุกค่ายเลยล่ะ

มัลติลิงค์ (Multi-link suspension)
คำว่ามัลติลิงค์จะค่อนข้างครอบคลุม สำหรับระบบกันสะเทือนที่ใช้แขนยึด (Link) แบบหลายจุด เช่น โฟร์บาร์ลิงค์เกจ, ไฟว์ลิงค์ หรือแขนยึดแบบ 5 จุด ที่ออกแบบให้ใช้แขนยึดหลายจุดเพื่อต้องการควบคุมมุมล้อ และรักษาหน้ายางให้ตั้งฉากกับพื้นถนน ปัจจุบันนิยมใช้กับล้อคู่หลังในกลุ่มรถ Luxury เพราะโดดเด่นเรื่องความนุ่มนวล ทั้งยังให้สมรรถนะในการยึดเกาะถนนที่ดี

ทอร์ชั่นบาร์ (Torsion bar)
มีรถยนต์หลายรุ่นได้นำเอาทอร์ชั่นบาร์มาใช้แทนแหนบและสปริงขด ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง โดยเฉพาะในล้อหน้าจะเห็นได้ในรถกระบะ ระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้จะมีทอร์ชั่นบาร์สองท่อน (ของล้อหน้าซ้าย และล้อหน้าขวา) ติดตั้งตามยาวของโครงรถข้างละท่อน ที่ปลายด้านหน้ายึดติดกับปีกนกล่าง ปลายด้านหลังยึดติดกับซับเฟรม ซึ่งสามารถปรับแต่งความตึงของทอร์ชั่นบาร์ได้ น้ำหนักของรถจะทำให้ทอร์ชั่นบาร์บิดตัวไปเหมือนกับสปริงขด จะยุบตัวหรือบิดตัวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ การบิดตัวดังกล่าวจะทำให้เกิดผลของความเป็นสปริง เช่นเดียวกับสปริงรูปแบบอื่นๆ

คงจะรู้จักหน้าที่อุปกรณ์แต่ละชนิดแล้วใช้ไหมครับ แต่วิธีที่ถนอนช่วงล่างที่ถูกต้องครับ คือไม่กระแทกแรงๆ เลี่ยงการตกหลุมให้ได้มากที่สุด

สุด ท้ายนี้ ส่วนการบำรุงรักษาที่ง่ายๆที่สุดก็คือถ้าไม่ดัง ไม่หลวม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรทั้งนั้นครับ แต่ถ้ามีอะไรหลวม อะไรดัง ก็ควรจะให้ช่างที่เชี่ยวชาญและไม่ฟันเราตรวจเช็ค และเปลี่ยนอะไหล่ที่เป็นของแท้ๆใส่ รับรองขับสนุก ขับดี

ที่มา http://rakcar.com/ForumId-218-ViewForum.aspx

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกซื้อแบตเตอรี่รถยนต์

การเลือกซื้อแบตเตอรี่รถยนต์


 แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น



 แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว

นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ 1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย

 อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

1. แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูก ใหม่ได้แล้ว

2. แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ

 การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่
ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์

 การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือการประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อม สภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีชา ร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่
เนื่องจากในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่

ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรีด้วย
ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา

ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด

ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง

ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ

ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้

ที่มา http://www.klangbattery.com/how_to.html

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำงานระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์

การทำงานระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์

ระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์มีความสำคัญมากครับลองอ่านกันดูนะครับ


อุปกรณ์ในระบบหล่อเย็นที่สำคัญและจะขาดเสียไม่ได้อีก อย่างหนึ่งก็คือ พัดลมหม้อน้ำ เพราะช่วยในการถ่ายเทความร้อนระหว่างรังผึ้งหม้อน้ำกับอากาศให้สมดุลกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้น ปัจจุบันพัดลมหม้อน้ำในรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพราะการควบคุมการทำงานได้ง่ายกว่าชนิดขับด้วยสายพาน แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำให้มีขนาดใหญ่มาก ๆ ได้เนื่องจากกระแสไฟฟ้าในรถมีน้อย รถที่ต้องการอัตราการไหลของอากาศมาก ๆ เนื่องจากอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์สูง เช่น รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจึงยังจำเป็นต้องใช้พัดลมชน ติดที่ขับด้วยสายพานโดยใช้กำลังจากเครื่องยนต์อยู่



โดยปกติพัดลมหม้อน้ำจะไม่ต้องการการบำรุงรักษาใด ๆ เพราะหากชำรุดขึ้นก็เปลี่ยนใหม่ แต่อย่างไรก็ดีควรหมั่นตรวจดูสภาพและการทำงานเป็นระย ะ ๆ โดยการตรวจสภาพและการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ ซึ่งควรทำทุกครั้งที่ตรวจระดับน้ำหล่อเย็น ต่อจากนั้นตรวจดูใบของพัดลมว่าไม่แตกหักเสียหายหรือเ ปลี่ยนรูปไป ตรวจดูโครงยึดและกรอบบังลมว่าตรึงแน่นอยู่ในตำแหน่งอ ย่างถูกต้องและไม่มีร่องรอยของการเสียดสี สายไฟและปลั๊กต่อว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ขาด แตกหัก หรือหลุดลุ่ย ตรวจการทำงานของพัดลมหม้อน้ำและวงจรควบคุม โดยสตาร์ตเครื่องยนต์แล้วสังเกตการทำงานของพัดลมหม้อ น้ำในสภาวะปกติ ระหว่างที่ติดเครื่องยนต์ใหม่ ๆ พัดลมหม้อน้ำจะยังไม่ทำงาน พัดลมจะเริ่มหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์เริ่มสู งกว่าอุณหภูมิทำงานปกติ (ประมาณ 85-90 องศาเซลเซียส) และจะหยุดหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดต่ำลงกว่ าระดับดังกล่าว สลับไปมาอย่างนี้ตลอดไป



ดังนั้นถ้าพบว่า พัดลมหม้อน้ำทำงานอยู่ตลอดเวลา แสดงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในระบบหล่อเย็น หรืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของพัดลม ลองใช้น้ำฉีดที่หม้อน้ำ (อย่าฉีดไปที่ตัวมอเตอร์โดยตรงเพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้า ลัดวงจร หรือชิ้นส่วนภายในเสียหาย) ถ้าฉีดแล้วพัดลมหยุดทำงานก็แสดงว่าการระบายความร้อนข องหม้อน้ำไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ปริมาณของสารหล่อเย็นมีไม่พอเพียง เกิดการอุดตันที่ครีมระบายความร้อน มีตะกรันหรือสนิมในหม้อน้ำอุปกรณ์ในระบบหล่อเย็น (ปั๊มน้ำเทอร์โมสตัท) บกพร่อง แต่ถ้าฉีดน้ำจนแน่ใจว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดลงจน ต่ำกว่าอุณหภูมิทำงานแล้ว พัดลมก็ยังไม่หยุดทำงานแสดงว่าอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน ของพัดลม (เทอร์โมสวิตช์) บกพร่อง

อาการบกพร่องประการสุดท้าย คือ พัดลมไม่หมุน ลองตรวจดูฟิวส์เสียก่อนเป็นอันดับแรก (ตำแหน่งของฟิวส์ได้จากคู่มือผู้ใช้รถของแต่ละรุ่น) ถัดจากนั้นก็เป็นสายไฟและขั้วเสียบ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ แสดงว่าตัวพัดลมหรือไม่ก็วงจรควบคุมบกพร่อง สำหรับการแก้ไขในกรณีนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ขอ งช่างที่มีความชำนาญเป็นดีที่สุด ไม่แนะนำให้แก้ไขเองครับ ประเดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะวงจรควบคุมพัดลมหม้อน้ำในระบางรุ่นเชื่อมต่ออยู่กับกล่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ เคราะห์หามยามร้ายเกิดไปทำกล่องที่ว่านั่นเสียจะกลาย เป็นเรื่องใหญ่

การดูแลรักษาระบบหล่อเย็นโดยสังเขปคงมีเท่านี้ ขอให้ใช้รถในหน้าร้อนได้อย่างสบายอกสบายใจและสนุกสนา นทุกท่านครับ

ที่มา http://www.auto2thai.com/ คลิปจาก youtube